ประเภทของ บัว
ประเภทของ บัวคนไทยเราโดยทั่วไปแล้วรู้จักบัวดีแทบทุกคน ไม่ว่าจะเป็น บัวหลวง บัวขาว ที่เรามักนำดอกมาใช้บูชาพระ กราบไหว้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ รวมถึงสามารถเก็บฝักเพื่อใช้ในการบริโภค อีกทั้งยังมี บัวผัน บัวเผื่อน ที่ให้ดอกสวยงามน่าตื่นตา รวมไปถึง บัวสาย ที่เราสามารถเก็บสายบัวอ่อนๆมาเพื่อประกอบอาหารรับประทาน
บัวเป็นพืชน้ำล้มลุก ลักษณะลำต้นมีทั้งแบบที่เป็น ไหล เหง้า หรือหัว โดยใบจะเป็นใบเดี่ยวๆซึ่งเจริญงอกงามขึ้นมาจากลำต้น โดยมีก้านใบทำหน้าที่ส่งใบขึ้นมาเจริญเหนือน้ำ ผิวน้ำ หรือบางครั้งอาจจะอยู่ใต้น้ำ รูปร่างของใบส่วนใหญ่จะออกไปทางลักษณะกลมและแตกต่างกันออกไปตามแต่ละสาย พันธุ์
ดอกเป็นดอกเดี่ยวแบบสมบูรณ์เพศ ประกอบด้วยกลีบเลี้ยงจำนวน 4-6 กลีบ กลีบดอกมีทั้งชนิดซ้อนและกลีบดอกไม่ซ้อน สิ่งที่สร้างความประทับใจให้ผู้พบเห็นก็คือสีสันที่แตกต่างกันออกไปแล้วแต่ ชนิด บัวที่พบเห็นและนิยมปลูกในประเทศไทยเรามีอยู่ด้วยกัน 2 วงศ์ และสามารถแยกย่อยออกเป็น 3 สกุล ได้แก่
1. วงศ์ NELUMBONACEAE
สกุล Nelumbo บัวหลวง หรือ ปทุมชาติ(ชื่อสามัญ Lotus)
คนโบราณมักจะใช้ชื่อภาษาสันสกฤตเรียกว่า "ปทุม" หรือ "ปทุมชาติ" มีถิ่นกำเนิดแถบเอเชีย มีล้ำต้นอาศัยอยู่ใต้ดินเป็นลักษณะแบบเหง้าและมีไหลขยายตัวออกไป ลักษณะของใบกลมเขียว ก้านดอกและใบมีหนาม ก้านดอกและก้านใบจะยืดยาวชูสูงพ้นผิวน้ำ มีทั้งดอกป้อมและดอกแหลม กลีบดอกชนิดซ้อนและไม่ซ้อน ปกติแล้วดอกจะบานเวลากลางวันขณะที่ดอกบานจะมีกลิ่นหอมอ่อนๆ โดยจะบานอยู่ประมาณ 4-5 วันกลีบก็จะเริ่มโรย เมล็ดภายในฝักสามารถนำมารับประทานได้บำรุงร่างกายเป็นอย่างดี่
2. วงศ์ NYMPHAEACEAE
สกุล Nymphaea อุบลชาติ (ชื่อสามัญที่ใช้เรียก Waterlily) ลักษณะลำ ต้นอยู่ใต้ดินโดยมีลักษณะเป็นหัวหรือเหง้า คือกลุ่มบัวผัน บัวเผื่อน จงกลนี บัวสาย บัวนางกวัก บัวยักษ์ออสเตรเลีย ซึ่งสามารถแยกออกไปเป็นประเภทย่อยๆอีก
โดยพวกที่มีถิ่นกำเนิดในเขตอบอุ่นและเขตหนาว ใบกลมขอบใบเรียบ ดอกลอยเหนือน้ำและมีเฉพาะพวกดอกบานกลางวัน ดอกสีคราม ฟ้า น้ำเงินและสีม่วง เจริญเติบโตเป็นเหง้าใต้ดินขนานไปกับผิวดิน สามารถสลัดใบหรือผลิใบก้านสั้นหนา จมอยู่ใต้น้ำในฤดูหนาวที่ผิวหน้าของน้ำที่เป็นน้ำแข็งเพื่อปรับตัวให้อยู่ รอด และเจริญเติบโตส่งใบลอยขึ้นเหนือน้ำใหม่อีกครั้งเมื่อน้ำอุ่นขึ้นช่วงที่น้ำ แข็งบริเวณผิวน้ำละลาย สามารถมีชีวิตอยู่ได้ตลอดไปทุกฤดูในเขตหนาว นักพฤกษศาสตร์ต่างประเทศเรียก "Castalia Group" แต่นักเกษตรต่างประเทศนิยมเรียก "Hardy Water lily" จึงได้มีผู้บัญญัติศัพท์ใช้ในภาษาไทยว่า "อุบลชาติประเภทยืนต้น" แต่ชื่อนี้ยาวไป ดร.เสริมลาภ วสุวัต ซึ่งได้ชื่อว่าเป็นผู้เชี่ยวชาญในเรื่องบัว ได้เรียกชื่อใหม่ว่า "บัวฝรั่ง" เหตุเพราะมีถิ่นกำเนิดในแถบต่างประเทศ ให้เรียกกันง่ายๆจำง่ายและเข้ากับชื่อไทยในประเภทนี้อย่าง บัวผัน บัวเผื่ีอน บัวสาย เป็นต้น
อีกประเภทหนึ่งคือ "อุบลชาติประเภทล้มลุก" (Tropical Water Lily) พวกบานกลางวันคือ บัวผัน บัวเผื่อน ดอกจะมีเฉดสีแทบทุกสียกเว้นสีดำ ส่วนพวกบางกลางคืน คือ บัวสาย มีเฉพาะสีแดง ชมพู และขาว โดยลักษณะใบของพวกบานกลางวันขอบใบจักมนไม่เป็นระเบียบ เส้นใต้ใบไม่โป่ง ส่วนพวกดอกบานกลางคืนของใบจักแหลมมีระเบียบ เส้นใต้ใบโป่ง
บัวอีกชนิดหนึ่งที่ถูกจัดให้อยู่ในกลุ่มอุบลชาตินี้ชั่วคราว เพราะมีถิ่นกำเนิดในเขตร้อนพบในประเทศไทย ได้แก่บัว "จงกลนี" เป็นบัวที่มีลักษระใบเป็นรูปกลมรีคล้ายไข่ ลักษณะเฉพาะคือดอกเมื่อบานแล้วจะไม่หุบ บานตลอดเวลาอาจเนื่องมาเพราะบัวจงกลนีมีกลีบดอกแผ่จำนวนมากเมื่อบานแล้วจึง ไม่สามารถหุบกลับได้เหมือนบัวบางชนิด ไม่มีประวัติทางวิชาการพฤกษศาสตร์ของจงกลนี เท่าที่สืบทราบมีหลักฐานบันทึกทางประวัติศาสตร์จากวรรณคดีอ้างถึงเมื่อ ครั้งกรุงสุโขทัยร่วม 800 กว่าปีมาแล้วมีการปลูกบัวจงกลนีเป็นไม้ประดับในสระน้ำ โดยนักพฤกษศาสตร์ไทยและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกำลังประสานกับต่างประเทศเพื่อ กำหนดและจัดอนุกรมวิธานของจงกลนีเพราะเป็นบัวที่พบเฉพาะในประเทศไทยเท่านั้น
สกุล Victoria บัววิกตอเรีย
ชนิดสุดท้ายคือ "บัวกระด้ง" หรือบัววิกตอเรีย (Giant waterlily or Amazon waterlily)
เป็นไม้น้ำพันธุ์พื้นเมืองจากทวีปอเมริกา และแถบลุ่มน้ำอเมซอนของบราซิล บัวกระด้งมีขนาดใหญ่ที่สุด ขอบใบมีการยกตัวขึ้นตั้งตรงเส้นผ่าศูนย์กลางกว้างคล้ายกระด้ง ข้างของเครื่องใช้ภายในครัวเรือนของไทยเราแต่เก่ามา เป็นบัวที่เจริญเติบโตจากเมล็ด
No comments:
Post a Comment